นวัตกรรม "เสื้อไม่อาย"
ส่งเสริมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
โดยคณะพยาบาลศาสตร์ คิดค้น “เสื้อไม่อาย”
นวัตกรรมช่วยลดปัญหาความไม่มั่นใจในเรือนร่างของหญิงไทย
ในขณะเข้ารับการตรวจรังสีเต้านม (Mammogram) โดยนวัตกรรมเสื้อดังกล่าวจะเอื้อให้เจ้าหน้าที่รังสีสามารถจัดตำแหน่งเต้านมของผู้เข้ารับการตรวจทีละข้างได้ โดยที่ผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเผยผิวหนังและร่างกายส่วนอื่นๆ อาทิ แผ่นหลัง
หน้าท้อง รักแร้ ในขณะที่การตรวจรังสีเต้านมโดยทั่วไป
ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องถอดเสื้อเปลือยร่างกายส่วนบนทั้งหมด
ผศ.จิณพิชญ์ชา มะมม
ผศ.จิณพิชญ์ชา มะมม อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า
ผู้หญิงไทยที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมรายใหม่มีมากราว 8,000 คนต่อปี
และช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ กลุ่มผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
ขณะเดียวกันกลับพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีอายุน้อยที่สุดคือ 18 ปี
ดังนั้น ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20
ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อาทิ คนที่มีประวัติโรคมะเร็งเต้านมในครอบครัว
และคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสี ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
เพื่อค้นหาความผิดปกติของเนื้อเยื่ออันเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านม
ซึ่งในกรณีที่พบความผิดปกติดังกล่าวจึงควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
เพื่อค้นหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่แม่นย้ำมากขึ้น
ซึ่งการตรวจแมมโมแกรมนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะต้องถอดเสื้อพร้อมเปิดเผยร่างกายส่วนบน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการจัดตำแหน่งเต้านมให้เหมาะสมกับการฉายรังสี
โดยต้องตรวจทีละข้างและใช้เวลารวมทั้งหมดประมาณ 30 - 60 นาที
ซึ่งการเปลือยร่างกายส่วนบนเป็นเวลานานต่อหน้าบุคคลที่ไม่รู้จักนั้น
อาจทำให้สตรีที่เข้ารับการตรวจรู้สึกอาย ด้วยขาดความมั่นใจในผิวหนังหรือเรือนร่างของตนเอง
ตลอดจนอาจส่งผลให้ไม่อยากกลับมาตรวจซ้ำ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จึงได้พัฒนานวัตกรรม “เสื้อไม่อาย” ขึ้นเพื่อลดปัญหาความไม่มั่นใจในเรือนร่าง
และสนับสนุนให้หญิงไทยเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมกันมากขึ้น
ผศ.จิณพิชญ์ชา กล่าวต่อว่า นวัตกรรม
“เสื้อไม่อาย”
เป็นเสื้อสำหรับใส่ตรวจรังสีเต้านมที่จะเปิดเผยร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจ
เฉพาะบริเวณเต้านมที่จะต้องเอ็กซ์เรย์เท่านั้น
โดยนวัตกรรมเสื้อดังกล่าวถูกตัดเย็บให้มีช่องสี่เหลี่ยมขนาด 15 x 15 เซนติเมตร จำนวน 2 ช่อง
ครอบบริเวณเต้านมของผู้เข้ารับการตรวจ
โดยในแต่ละช่องจะมีผ้าคลุมเย็บกระดุมติดอีกชั้นหนึ่ง
เพื่อให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถปลดกระดุมให้เจ้าหน้าที่รังสีจัดตำแหน่งเต้านมทีละข้างได้
โดยไม่ต้องเผยผิวหนังและร่างกายส่วนอื่นๆ อาทิ แผ่นหลัง หน้าท้อง รักแร้
อันจะเป็นการช่วยลดปัญหาความไม่มั่นใจในเรือนร่างได้
นอกจากนี้นวัตกรรมดังกล่าว
ยังได้รับการดัดแปลงมาจากเสื้อยืดแบบผ้าคอตตอน
ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่ในขณะเข้าเอ็กซ์เรย์รังสี
อีกทั้งยังมีหลากหลายขนาด เพื่อรองรับการสรีระของผู้เข้ารับการตรวจที่แตกต่างกัน
อ้างอิงจาก https://www.hfocus.org/content/2017/03/13615
นวัตกรรม : ปฏิทินความรู้แบบพกพา เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง หน่วยงาน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวสำโรง
ความเป็นมาจากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของสตรีรองจากมะเร็งปากมดลูกและมีแนวโน้มที่จะพบมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับ1ของมะเร็งในสตรีไทย โดยพบประมาณปีละ 4,000
รายอัตราการตายเป็นมะเร็งเต้านม
พบมากขึ้นเรื่อยๆประมาณ 1 ใน 10 ของหญิงมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็ง
เต้านมในช่วงของชีวิตโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถดูแลรักษาให้หายขาดได้
ถ้าพบในระยะแรกของการป่วย
และถ้าประชาชนสตรีได้รู้จักวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองและมีทักษะการตรวจเต้านมได้อย่างถูกต้องมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจเต้านมตนเองทุกเดือน เพี่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม
ก็จะเป็นการลดความรุนแรงและ อัตราการตายจากมะเร็งเต้านมลงได้ จากผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2557 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวสำโรง พบว่าสตรีอายุ 30-60ปีได้รับความรู้ในการตรวจเต้านมร้อยละ 85 และสตรีอายุ 30-60ปีผ่าน
การประเมินทักษะการตรวจเต้านมได้อย่างถูกต้องร้อยละ 70 ซึ่งยังไม่ครอบคลุมกลุ่มประชากรทั้งหมด
ทางโรงพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวสำโรง จึงได้จัดทำนวัตกรรมปฏิทินแบบพกพา
เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมด้วยตนเองขึ้น
โดยเป็นการให้ความรู้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ให้ครอบคลุมกลุ่มประชากร สตรีอายุ30-60
ปี
โดยจะมีการสอนการตรวจเต้านมให้สตรีกลุ่มเป้าหมายและอสม.มีการแจกแผ่นความรู้มะเร็งเต้านมแบบพกพาให้กับสตรีที่ต้องทำงานนอกบ้านและที่ทำงานเป็นช่วงเวลาให้มีความรู้และมีพฤติกรรมในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง โดยอาศัยแผ่นตรวจตรวจเต้านมแบบพกพา ช่วยให้การตรวจเต้านมให้เป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายขึ้น และเข้าถึงเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดความมั่นใจตรวจเต้านมได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งจะส่งผลให้ไม่เพียงแต่กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับความรู้เรื่องการทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
และครอบคลุมกลุ่มประชากรทุกคนที่ทำงานนอกบ้านได้รับความรู้
และถ้ามีการตรวจพบอาการผิดปกติในระยะ
เริ่มแรกได้จะสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคได้เร็ว
ลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมได้ มีผลดีต่อภาวะสุขภาพชีวิตที่ดี และส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจสังคมของประเทศชาติในอนาคตได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ที่ทำงานนอกบ้านและที่ทำงานเป็นช่วงเวลาทุกคนสามารถ
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ถูกต้องและง่ายขึ้น
2. เพื่อค้นหาโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาต่อเนื่องและทันเวลาลดอัตราการเสียชีวิต
ด้วยโรคมะเร็งเต้านม
อ้างอิงจาก gishealth.moph.go.th/healthmap/upload/.pdf